About the Medical Hub Policy ...

About the Medical Hub Policy

การพัฒนาด้านการเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub)

นโยบายศูนย์กลางทางการแพทย์ของไทยเป็นนโยบายที่ประกาศใช้โดยรัฐบาลเมื่อปี ๒๕๔๖ อย่างไรก็ตามจุดเริ่มของนโยบายนี้มาจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์หรือเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) ซึ่งเกิดขึ้นในหลายประเทศ โดยมีการจัดให้ผู้ปุวยไปรับบริการด้านการแพทย์หรือด้าน สุขภาพในประเทศอื่นที่มีบริการที่มีคุณภาพสูงกว่า หรือมีค่าใช้จ่ายต่่ากว่าหรือเสียเวลารอคิวน้อยกว่า และในบางกรณีก็มีการผสมผสานบริการด้านการรักษาพยาบาลและการพักฟื้นกับการท่องเที่ยวด้วยการที่ประเทศไทย เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติและเป็นประเทศที่เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนและ ท่างานอย่างกว้างขวางท่าให้สถานพยาบาลในประเทศไทยหลายแห่งมีประสบการณ์กับการรักษาชาวต่างชาติ อยู่แล้วประกอบกับประเทศไทยมีแพทย์ที่ไปศึกษาต่อในต่างประเทศจ่านวนมาก แพทย์ไทยจ่านวนไม่น้อยจึงมีศักยภาพในการรักษาพยาบาลชาวต่างประเทศและนักท่องเที่ยว

จุดเปลี่ยนที่ส่าคัญของการขยายการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในประเทศไทยเกิดขึ้นหลังปี ๒๕๔๐ จากความพยายามของภาคเอกชนเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ กล่าวคือในช่วงที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะฟองสบู่นั้นโรงพยาบาลเอกชนของไทยก็คล้ายกับธุรกิจเอกชนอื่นๆ ที่ได้มีการลงทุนด้านการก่อสร้างและขยายกิจการอย่างขนานใหญ่เนื่องจากกลุ่มที่เคยเป็นลูกค้าหลักมีรายได้ลดลงจึงหันไปรับบริการ รักษาพยาบาลที่อื่นโรงพยาบาลเหล่านี้จึงพยายามปรับตัวโดยการหาลูกค้าจากประเทศที่มีก่าลังซื้อสูง (เช่น ญี่ปุุน ยุโรป และตะวันออกกลาง) เข้ามาเสริมในส่วนของภาครัฐนั้น เนื่องจากในช่วงวิกฤติดังกล่าว ประเทศไทยมีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในอัตราที่สูงติดต่อกันมานานหลายปีหลังจาก ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตกรัฐบาลจึงได้พยายามผลักดันให้มีการส่งออกเพิ่มขึ้นซึ่งนอกจากการส่งออกสินค้าและแรงงานไปต่างประเทศ แล้วกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ยังหันมาสนใจการหารายได้เข้าประเทศจากบริการ ด้านสาธารณสุข ซึ่งที่ผ่านมาสาธารณสุขของไทยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในระดับภูมิภาคอยู่แล้ว โดยให้มีการขยายบริการในรูปของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่มีการน่าคนไข้จากประเทศที่มีก่าลังซื้อสูงมารับบริการทาง การแพทย์และสุขภาพในประเทศไทยและดึงดูดผู้ที่เกษียณอายุมาตั้งถิ่นฐาน ในประเทศไทยนโยบายนี้ได้กำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๕๑) ภายใต้หลักการและเหตุผลว่า โครงการ ๓๐ บาท รักษาทุกโรค ส่งผลให้บริการสาธารณสุขกระจายทั่วถึงทั้งประเทศ ท่าให้โรงพยาบาลเอกชนที่มีขีดความสามารถ ถือเป็นโอกาสที่จะพัฒนาบริการและสิ่งอ่านวยความสะดวกทางด้านบริการการแพทย์และสุขภาพ โดยยกระดับมาตรฐานคุณภาพสู่สากลสามารถไปน่าเสนอในต่างประเทศได้เพื่อเป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่มีประสิทธิภาพและขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องให้กับประเทศ

นโยบายของรัฐบาลเมื่อปี ๒๕๕๖ ในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพ (Medical Service Hub) ได้ก่าหนดไว้ว่าจะทำการบูรณาการวงการแพทย์ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพัฒนาวงการแพทย์ของไทยให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาด้านสุขภาพเพื่อวางยุทธศาสตร์ให้เป็นเอกภาพ ลดความซ้่าซ้อน ต่อยอดให้เกิดความส่าเร็จให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างเต็มที่รวมทั้งเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณลงในแต่ละที่มีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ซึ่งในส่วนยุทธศาสตร์ของประเทศ รัฐบาลอยากเห็นการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศในด้านสุขภาพด้วยการเติมเต็มขั้นพื้นฐาน ของสุขภาพดูแลยกระดับมาตรฐานการดูแลด้านสุขภาพต่างๆ ดูแลสุขภาพในเชิงของการท่องเที่ยว รวมทั้งการ ต่อยอดในการสร้างอาชีพ และการพัฒนาให้เกิดความเป็นเลิศในศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพ ทั้งนี้ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาการเป็นศูนย์กลาง ทางการแพทย์ออกเป็น ๔ ด้าน ประกอบด้วย
        ๑) เป็นศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) ที่เป็นการบริการอย่างครบวงจร
        ๒) เป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพ (Medical Service Hub) ที่ต่อยอดกับระบบสปาระบบการท่างานเพื่อสร้างสุขภาพรวมถึงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพซึ่งถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทยและเป็นจุดหนึ่งที่ หลายประเทศเข้ามาใช้บริการ
        ๓) เป็นศูนย์กลางการศึกษาวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub)ที่เกี่ยวกับสุขภาพ
        ๔) เป็นศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ(Product Hub)

เนื่องด้วยในปัจจุบันสังคมไทยก่าลังจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ จึงควรที่จะหาแนวทางรองรับเรื่องสังคมผู้สูงอายุของไทย โดยหากมองถึงกองทุนหลักประกันสุขภาพก็จะพบว่าต้นทุนด้านการรักษาสุขภาพนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นควรกลับไปพิจารณาถึงสาเหตุของโรคเพื่อให้มีการแก้ไขที่ต้นทาง ซึ่งหากร่วมกันคิดหาแนวทางตั้งแต่วันนี้และบูรณาการร่วมกันในการพัฒนาแผนการแพทย์ ก็เชื่อว่าจะสามารถวางยุทธศาสตร์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวงการแพทย์ได้มากขึ้น ขณะที่ในเรื่องการขาดแคลนบุคลากรแพทย์ พยาบาล และเครื่องมือทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานภาครัฐก็เป็นเรื่องที่ต้องมีการหารือถึงทิศทางแผนพัฒนากันให้ ชัดเจนเพื่อให้มีการวางแผนระยะยาวต่อไป

สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑(พ.ศ.๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) ได้ระบุในเรื่องนี้ไว้ในหัวข้อยุทธศาสตรการสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในภูมิภาค แนวทางการพัฒนาสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยผลักดันให้อาเซียนมีบทบาทหน้าที่สร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศ ยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพและบริการด้านสาธารณสุขทั้งบุคลากรและมาตรฐานการให้บริการเพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการให้บริการยอมรับในระดับสากล ตลอดจนการยกระดับทักษะฝีมือแรงงานและทักษะด้านภาษาเพื่อเตรียมความพร้อมของแรงงานไทยเข้าสู่ตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย